1 st Army Support Command


Join the forum, it's quick and easy

1 st Army Support Command
1 st Army Support Command
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Go down

แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  Empty แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตั้งหัวข้อ  Admin Mon Jun 06, 2011 5:08 pm

แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดจากพระอัจฉริยภาพ
และพระปรีชาสามารถในการที่ได้ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไข ให้เกิดการพัฒนาโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นงานที่ดำเนินการไปได้โดยง่ายไม่ยุ่งยากซักซ้อนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศน์โดยส่วนใหญ่ของธรรมชาติ ตลอดจนสภาพทางสังคมของชุมชนนั้น โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอยู่มากมายหลายประเภทแตกต่างกันไปตามลักษณะ และวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น ซึ่งส่วนมากเป็นการแก้ปัญหาและพัฒนาด้านการทำมาหากินของประชากรเป็นสำคัญ หลักสำคัญของทุกเรื่อง คือ ความเรียบง่าย ทั้งนี้ได้ทรงใช้คำว่า “Simplify” หรือ “Simplicity” ทั้งในแนวคิดและด้านเทคนิควิชาการจะต้องสมเหตุผล ทำให้รวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนต้องมุ่งไปสู่วิถีแห่งการพัฒนายั่งยืน (Sustainability)

แนวพระราชดำริกับการแก้ไขปัญหาของชาติ

1. แนวพระราชดำริ ฯ ทรงมุ่งหวังให้ปวงชาวไทยได้พ้นจากความทุกข์ยากในการดำรงชีวิต โดยทรงมีหลักการทำงานดังนี้.-

1.1. พออยู่พอกิน คุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุน ขาดทุนเป็นกำไร ทรงมุ่งเน้นให้ผลการดำเนินงานตกถึงมือประชาชนโดยตรง เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อความพออยู่พอกิน ทรงปูพื้นฐานไว้สำหรับความกินดีอยู่ดีต่อไปในอนาคตด้วย

1.2 ไม่ติดตำรา การพัฒนาตามแนวพระราชดำริมีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน คือ ไม่ติดตำรา ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการ และเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

1.3 บริการรวมที่จุดเดียว และแก้ปัญหาโดยเริ่มจากจุดเล็ก ทรงเน้นในเรื่องการสร้างความรู้ รัก สามัคคี และการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดังเห็นได้ในการดำเนินงานบริหารของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิธีทำต้องค่อย ๆ ทำ

1.4 ความเป็นกลาง คือ ไม่หวั่นไหวกับความโกรธ ความหลง และอคติ ทำความเข้าใจอันดี
ให้กันและกันให้เกิดขึ้นโดยใช้หลักวิชาการ และประกอบไปด้วยความหนักแน่นทั้งกาย วาจา และจิตใจ ปรัชญาความเป็นกลางจึงเป็นวิธีลดความขัดแย้งรุนแรงในการปฏิบัติงานร่วมกัน

1.5 รู้ด้านลึกและด้านกว้าง ประสานงาน ประสานประโยชน์ คือ นอกจากวิชาความรู้ทางหลักการและยังทรงใช้ความรู้รอบตัวควบคู่กันไปด้วย เป็นการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน มีการประสานงาน และประสานประโยชน์ต่อบุคคลด้วยความบริสุทธิ์ใจ

โดยเริ่มต้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มุ่งเน้นช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความสำคัญ ประหยัด เพื่อให้ราษฎรมีรากฐานที่มั่นคงก่อน แล้วจึงดำเนินการเพื่อความเจริญก้าวหน้าในลำดับต่อ ๆ ไป เป็นการพัฒนาประชาชนให้สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพและสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

2. แนวพระราชดำริ ฯ ได้ทรงคิดค้นเป็นโครงการครอบคลุมในหลายสาขา คือ

2.1 ด้านการเกษตร จัดเป็นโครงการฯ ที่มุ่งสนองพระราชประสงค์ที่สำคัญ คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยทรงเน้นการปลูกพืชแบบผสมผสานที่ช่วยทำให้ราษฎรสามารถดำรงชีวิต
อยู่ด้วยตนเองได้ตลอดปี

2.2 ด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นถึงวิธีการที่จะทำนุบำรุงและปรับปรุงสภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ

2.2.1 การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน สนับสนุนให้เกษตรกรได้เรียนรู้และทำความเข้าใจถึงวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การศึกษาและทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของดิน การพัฒนาดินเปรี้ยว ดินเค็ม ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

2.2.2 การบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตร ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” ไว้เป็นแนวทางในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในพื้นที่ทำกินที่มีจำนวนน้อย ทรงแนะนำการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 ส่วน คือ 30 – 30 – 30 – 10 ได้แก่ นาข้าวร้อยละ 30 นาสวนผสมร้อยละ 30 แหล่งน้ำร้อยละ 30 และที่อยู่อาศัยที่ปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 10 ซึ่งหากดำเนินการตามวิธีนี้ เกษตรกรจะมีกิจกรรมด้านการเพาะปลูกและอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดรายได้ตลอดปี

2.2.3 การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ “น้ำคือชีวิต” ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงมีพระราชวินิจฉัยว่า หากมีแหล่งน้ำสำรองเพียงพอเมื่อใดก็จะช่วยให้ชีวิตผาสุขสมบูรณ์ขึ้นเมื่อนั้น

2.2.4 การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ พระราชดำริให้ทำนุบำรุง ฟื้นฟู และพัฒนาป่าไม้ให้คืนสู่ความสมบูรณ์ดังเดิม ได้มีการดำเนินการตามโครงการเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้กระจายอยู่ตามภูมิภาค ของประเทศไทย

2.3 ด้านการสาธารณสุข ด้วยทรงเล็งเห็นว่าหากพสกนิกรมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศไทยด้วย

2.4 ด้านการส่งเสริมอาชีพ ทรงกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมอาชีพตามมา ทำให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์จากการมีรายได้เพิ่มขึ้น

2.5 ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ดังพระราชดำรัสที่ว่า “…น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในงานเกษตรกรรม ถ้าแก้ปัญหาในเรื่องแหล่งน้ำที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้แล้ว เรื่องอื่น ๆก็จะพลอยดีขึ้นติดตามมา…”

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้มีหลายด้าน อาทิ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม โครงการบรรเทาอุทกภัยและ โครงการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย

2.6 ด้านคมนาคม นับเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่นำความเจริญมาสู่ชนบท โดยเฉพาะช่วยให้ ราษฎรสามารถนำผลผลิตไปสู่การตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้น อันจะเป็นหนทางสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนทั้งหลาย

2.7 ด้านสวัสดิการสังคม เป็นโครงการที่ช่วยให้ราษฎรมีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่ทำเป็นเบื้องต้นสำหรับชีวิตเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองในอนาคต ทรงจัดตั้งศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั่วทุกภูมิภาคเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง ทดสอบ เป็นลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต เป็นศูนย์บริการในรูปแบบครบวงจร หรือเรียกว่า “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ” ซึ่งมีศูนย์ฯ อยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย รวม 6 แห่ง ได้แก่

(1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นศูนย์รวมของความสมบูรณ์แบบ เน้นการปรับปรุงและฟื้นทรัพยากรธรรมชาติของดินและน้ำให้มีความสมบูรณ์

(2) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลฯ จังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุเสื่อมโทรม เพื่อให้สามารถทำการเกษตรได้

(3) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร ใช้เป็นศูนย์ทดลองงานพัฒนาการเกษตรสาขาต่าง ๆ บนพื้นที่ซึ่งเป็นดินทราย เค็ม และขาดแคลนน้ำ

(4) ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการศึกษารูปแบบแผนการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เนื่องมาจากมีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดสภาพแห้งแล้งและมีไฟป่ามาก

(5) ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์นี้ตั้งขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลของธรรมชาติ และพลิกฟื้นป่ากลับคืนมาก่อนดินจะกลายเป็นทะเลทรายไปในที่สุด

(6) ศูนย์การศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์ที่ทำการศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพื่อปรับสภาพแวดล้อมด้านการประมงชายฝั่ง และการเกษตรในเขตพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี


Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 49
Join date : 10/08/2009

https://ascom1.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ